มาทำความรู้จักกับโครงการปกปักษ์อนุรักษ์เต่าทะเลบริเวณเกาะทะลุกัน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงเริ่มงานพัฒนาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา โดยมีพระราชดำริให้ดำเนินการรวบรวมรักษาพรรณพืชต่างๆ ที่หายากและกำลังจะหมดไป
H.M. King Bhumipol realized the importance of the conservation of plant heredity. He began to develop the natural resources and biological diversity conservation since 1960 (2503 B.E.) that focus on the rare and near-extinct plants.
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานพระราชปณิธานต่อ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เป็นผู้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในระยะที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมสนองพระราชดำริเป็นจำนวนมาก โดยพื้นที่และกิจกรรมของโครงการได้ขยายและกระจายออกไปสู่ภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งมีแนวทางการดำเนินงานที่หลากหลายมากขึ้นโดยลำดับ และได้บรรลุผลก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยประจักษ์ชัดแล้ว
In 1992, HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn has maintained HM the King’s idea of letting the Royal project manage the Plant Germplasm Bank since 1993. Now, the plant heredity conservation project initiated by HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn has a lot of joint units. The areas and activities expand to all regions with various of the management that gain the benefit to the Nations obviously.
พระบรมราโชวาทในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม 2521 ในเรื่องรักษาทรัพยากรดังความตอนหนึ่งว่าParts of the Royal Guidance on December 5, 1978 in the attending on his birthday meeting about the resource protection:
“…ทุกวันนี้ ประเทศไทยยังมีทรัพยากรพร้อมมูล ทั้งทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรบุคคล ซึ่งเราสามารถนำมาใช้เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ และเสถียรภาพอันถาวรของบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี ข้อสำคัญเราต้องรู้จักใช้ทรัพยากรนั้นอย่างฉลาด คือไม่นำมาทุ่มเทใช้ให้สิ้นเปลืองไปโดยไร้ประโยชน์ หรือได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า หากแต่ระมัดระวังใช้ด้วยความประหยัดรอบคอบ ประกอบด้วยความคิดพิจารณาตามหลักวิชา เหตุผล และความถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งถึงประโยชน์แท้จริงที่จะเกิดแก่ประเทศชาติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอันยืนยาว…”
“… Now Thailand has full resources, both natural and personal one. We can use them to build the plentiful and stability of our nation perfectly. Above all, we should use it cleverly to not use it in useless ways or not worthwhile. We should do with careful, academic, reasonable and suitable ways for the true benefit of our nation in the present and the long future…”
“….ธรรมชาติแวดล้อมของเรา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็นเพียงสิ่ง สวยๆ งามๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเรา และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนี้ ก็เท่ากับเป็นการปกปักรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย...”
“… Our environments, for example, land, forest, river, sea and air are not only the attractive, but they are also the necessities for our life. The environmental protection is to protect the future for our descendant…”
โครงการปกปักษ์อนุรักษ์เต่าทะเล บริเวณเกาะทะลุ เป็นโครงการอนุรักษ์โครงการหนึ่งภายใต้การดูแลของ มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม (Siam Marine Rehabilitation Foundation) เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะช่วยแม่เต่าทะเลที่ขึ้นวางไข่บนเกาะทะลุตามธรรมชาติ โดยคุณปรีดา เจริญพักตร์ ประธานมูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากร ทะเลสยาม และผู้บริหารเกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท ได้ริเริ่มขึ้นจากการพบไข่เต่ากระโดยบังเอิญในวัน ที่ 29 กันยายน 2552 พนักงานของรีสอร์ทกำลังทำความสะอาดบริเวณชายหาดในช่วงเช้ามืด สังเกตว่ามีร่องรอยการขุดทรายเป็นแอ่ง ด้วยความสงสัยจึงลองขุดดูและพบว่าเป็นไข่ของเต่าทะเล ทางรีสอร์ทจึงแจ้งไปยังกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศูนย์ 3) จังหวัดชุมพร ขอให้ส่งผู้เชี่ยวชาญเรื่องเต่าทะเลมาตรวจสอบพบว่าไข่ที่พบเป็นไข่ของเต่ากระ
นายอภินันท์ จันทรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ในเวลานั้น) พร้อมทั้งนายวิไชย ไชยแก้ว เจ้าพนักงานประมงปฏิบัติงาน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ประมงอำเภอบางสะพานน้อย เดินทางมาในสถานที่ที่พบไข่เต่า นายอภินันท์ จันทรังษี กล่าวว่า “เต่ากระถือเป็นสัตว์ทะเลที่เหลือน้อยมากและเป็นสัตว์หายาก แต่พบว่ามีการวางไข่ของเต่ากระในแหล่งท่องเที่ยว ถือว่าเป็นตัวชี้วัดว่าได้มีการดูแลเกาะทะลุ ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของอ่าวไทย ให้ยังคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้อยู่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีรายงานพบการขึ้นวางไข่ของเต่ากระในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในรอบ 20 ปี”
The resort’s personnel accidentally found the Hawksbill sea turtle’s eggs in the sand basin while cleaning the beach on September 29, 2009. When informing the officer at the Department of Marine and Coastal Resources (Center 3), Chumporn province, the expert confirms that the finding is the Hawksbill’s eggs. Then Mr. Apinun Chantarungsi, Prachuab Kiri Khan’s Vice Governor (at the time), Mr. Wichai Chaikeaw, Fisheries officer, and the officers from Amphor Bang Sapan Neo came to the founding place.
“The Hawksbill is the rarest found animal. The founding of its’ eggs in the tourist attractions is the index for taking care of Koh Talu’s coastal resources. In the past, there had no report about Hawsbill’s egg-laying in the province area for 20 years.” Mr. Apinan said.
นายอภินันท์ จันทรังษี รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดินทางมาดูไข่เต่าที่พบบนเกาะทะลุ
ในปี พ.ศ. 2553 เจ้าหน้าที่ของเกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เริ่มสำรวจพื้นที่ในช่วงฤดูเต่าขึ้นวางไข่ พบร่องรอยการวางไข่ จึงประสานงานเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ศูนย์ 3) จังหวัดชุมพร มาทำการขุดย้ายใส่ลังโฟมกับไปยังศูนย์ และเก็บไว้ที่เกาะทะลุบางส่วน เพื่อป้องกันการถูกทำลายจากศัตรูทางธรรมชาติ ซึ่งในปีนี้ พบการขึ้นวางไข่ของเต่ากระ 12 รัง จำนวนรวม 1,754 ฟอง แต่ไข่ทั้งหมดไม่ฟักออกเป็นตัว
In 2010, the resort began to survey the area in the spawning season and found some clues. After that, the officers came to collect and move the eggs to the center and keep some still in Koh Talu. On the year found 12 Hawksbill nest and 1,754 eggs, but, unfortunately, all of the eggs are not hatching.
ในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท ได้เริ่มจัดตั้งโครงการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลหายากเพื่อคืนสู่ธรรมชาติ โดยความช่วยเหลือจากศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ พลเรือตรีวินัย กล่อมอินทร์ ผู้บังคับการ (ในเวลานั้น) ได้เดินทางมาให้คำแนะนำทั้งในกระบวนการเพาะฟักและวิธีการเลี้ยงดูแก่เจ้าหน้าที่ของรีสอร์ทจนเกิดความรู้ความเข้าใจ ในปีนี้มีแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ จำนวน 2 แม่ (ยังไม่สามารถระบุตัวตนแม่เต่าได้ชัดเจน) พบการขึ้นวางไข่ของเต่ากระ 14 รัง จำนวนรวม 1,017 ฟอง และได้ย้ายไข่เต่ามาเพาะฟักยังพื้นที่ชายหาดกึ่งธรรมชาติที่จัดเตรียมไว้ตามรูปแบบที่ พลเรือตรีวินัย กล่อมอินทร์ แนะนำ จนไข่ฟักออกเป็นตัวได้จำนวนทั้งสิ้น 672 ตัว ซึ่งคิดเป็น 66.07 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไข่ที่พบ ถือว่าเป็นอัตราการฟักที่น่าพอใจเมื่อเทียบกับรังที่ฟักตามธรรมชาติ ซึ่งมีอัตราการฟักไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของซากเปลือกไข่ที่ขุดพบในหลุม ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการถูกรบกวนจากศัตรูตามธรรมชาติ ทางรีสอร์ทได้เพาะฟักและอนุบาลลูกเต่าเหล่านี้ จนมีอายุประมาณ 3 เดือนขึ้นไป และได้ทยอยปล่อยคืนสู่ท้องทะเลธรรมชาติ
The resort launched the project to bring sea turtles back to nature with cooperation from the sea turtle conservation center, Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet. Moreover, Radm. Winai Klom-in gave advice about the hatching and caring process to the resort personals.
In the year, there are 2 female turtles spawning in 14 nests (1,017 eggs). After moving for hatching on the prepared semi-nature beach, the 672 hatched eggs (66.07%) was the satisfaction ratio when compared with natural hatching. The resort takes care of baby turtles for 3 months, then send them to the natural sea.
ในปี พ.ศ. 2555 เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท ได้ขอรับการสนับสนุนกำลังพลจากทางหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ โดยทางหน่วยได้ส่งนักทำลายใต้น้ำจู่โจม จำนวน 2 ท่าน คือ พันจ่าเอก ธงชัย ชูคันหอม และ จ่าเอกสุทธิพจน์ บุญเศษ มาให้คำแนะนำในการดูแลอนุบาลลูกเต่ากระ ตั้งแต่หลังจากเก็บไข่ จนนำมาใส่หลุมเพาะฟักที่ปลอดภัยที่ได้เตรียมพื้นที่ไว้อย่างเหมาะสม รวมไปถึงขั้นตอนดูแลให้อาหาร การทำความสะอาดเปลี่ยนน้ำ ทำให้ในปี พ.ศ. 2555 นี้ พบแม่เต่าขึ้นมาวางไข่ 5 แม่ พบไข่เต่ากระ 17 รัง จำนวนรวม 2,221 ฟอง และได้ย้ายไข่เต่ามาเพาะฟักยังพื้นที่ชายหาดกึ่งธรรมชาติที่จัดเตรียมไว้ จนฟักออกเป็นตัวจำนวนทั้งสิ้น 1,694 ตัวเลยทีเดียว คิดเป็น 76.27 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนไข่ที่พบ และในปีนี้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดา (แหลมพันวา) จังหวัดภูเก็ต ยังได้ให้ความสนใจเดินทางมาทดลองติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณดาวเทียม ที่แม่เต่ากระหลังขึ้นมาวางไข่ เพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าหลังจากเต่ากระขึ้นมาวางไข่แล้วจะเคลื่อนที่ไปยังจุดใดบ้างหรือจะกลับขึ้นมาวางไข่อีกหรือไม่อย่างไร และนอกจากนั้นยังได้ติดแท็กหมายเลขและฝังไมโครชิพเป็นครั้งแรกที่ตัวเต่าแม่พันธุ์ ทำให้เราสามารถระบุตัวตนแม่เต่าได้เป็นครั้งแรกในปีนี้ คือ แม่นกแก้ว, แม่เพรียง, แม่ศรีประจวบ และแม่ศรีบางสะพาน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาสถานภาพประชากรของเต่ากระบริเวณเกาะทะลุและพื้นที่ใกล้เคียง
In 2012, the resort asked for supporting teams from Naval Special Warfare Command, Royal Thai Fleet. Chief Petty Officer 1st class Thongchai Chukanhom and Petty Officer 1st class Suthipote Boonset, underwater demolition team member, came to advise about caring baby turtles from egg gathering, putting eggs in well-prepared hatchery pits to feeding and water cleanness caring. During the year, there are 5 female turtles spawning in 17 nests (2,221 eggs) that give 1,694 baby turtles (76.27%). Furthermore, the Phuket Marine Biological Center came to set up the Satellite transmitters on female turtles after spawn tracking and also tagging and implanting microchips for further study on the island and nearby.
เมื่อเราเตรียมพร้อมที่จะดูแลแม่เต่าที่ขึ้นมาไข่ และลูกเต่าบนเกาะทะลุแล้ว มาดูกันต่อว่าปีต่อๆ ไป จะเป็นยังไง มีแม่เต่าตัวไหนขึ้นมาไข่บ้าง กี่ฟอง ติดตามตอนต่อไปกันเร็วๆ นี้นะคะ ^_^