jos55 instaslot88 Discover – Koh Talu Island Resort ดำน้ำดูปะการัง เกาะทะลุ บางสะพาน

History of Koh Talu

เกาะทะลุเคยเป็นหมุดหมายที่นักเดินเรือรู้จักกันมานับร้อยปี ในฐานะ “ประตูสู่อ่าวสยาม” เรือขนสินค้าในอดีตเข้ามาอาศัยหลบลมพายุในช่วงฤดูมรสุมทางด้านทิศใต้ของเกาะ ส่วนทางทิศเหนือที่มีลมพายุรุนแรงพัดกระหน่ำกัดเซาะหน้าผามาหลายร้อยปีจนเกิดเป็น ช่องทะลุ ประติมากรรมธรรมชาติอันโดดเด่น ตั้งตระหง่านอยู่กลางอ่าวไทย

เกาะทะลุมีธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทั้งใต้น้ำและบนบก  เกาะนี้ตามหลักฐานทางเอกสารระบุว่ามีผู้คนเข้ามาตั้งรกรากอยู่ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำสวนมะพร้าวมาเนิ่นนาน ส่วนชาวประมงก็รู้ดีว่าใต้ทะเลรอบๆ เกาะนั้นเป็นแหล่งปลาชุกชุม กองเรือประมงจากทั่วสารทิศจึงพากันมาจับปลารอบๆ เกาะทะลุอย่างไม่บันยะบันยัง

ที่ดีที่สุดที่เคลื่อนที่คาซิโนอยู่ในออสเตรเลีย

จนกระทั่งราว พ.ศ. 2522 คุณปรีดา เจริญพักตร์ อดีตชาวประมงเมืองเพชรบุรีได้เข้ามาตั้งรกรากบนเกาะทะลุ หลังจากที่เคยนำเรืออวนลากเข้ามาจับปลาทูบริเวณด้านหลังเกาะทะลุจนตั้งตัวได้ จึงหันกลับมาซื้อที่ดินสวนมะพร้าวบนเกาะทะลุต่อจากชาวบ้านบนเกาะ ด้วยความตั้งใจที่จะรักษาผืนดินบนเกาะทะลุให้เป็นของคนไทยและฟื้นฟูทรัพยากรประมงที่เคยอุดมสมบูรณ์แต่ถูกเรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาจับปลาอย่างไม่มีขอบเขต จนปลาและทรัพยากรประมงรอบๆเกาะทะลุเหลือน้อยลงทุกวัน แต่หลังจากที่ได้ศึกษาแนวคิดการทำประมงสมัยใหม่ที่ลดการทำลายจากประเทศญี่ปุ่น จึงได้ผลักดันโดยการดังกล่าวโดยสนับสนุนงบเรือและงบประมาณค่าน้ำมันแก่เจ้าหน้าที่กรมประมงที่เข้ามาทำงานตรวจอ่าวในสมัยนั้นให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จนกระทั้งประมาณปี พ.ศ. 2535 กรมประมงเริ่มเห็นถึงความสำคัญของอ่าวบางสะพาน ซึ่งเป็นแหล่งวางไข่ของปลาทู ปลาเศรษฐกิจของไทย จึงได้ผลักดันให้ประกาศพื้นที่อ่าวบางสะพานเป็นโครงการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน ภายใต้แนวคิดสิทธิประมงหน้าบ้าน ทำความเข้าใจกับชาวประมงชายฝั่งให้ช่วยกันดูแลทรัพยากรและบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

จนกระทั้งปี พ.ศ. 2542 ได้มีการประกาศกฎหมายปกป้องพื้นที่อ่าวบางสะพานกว่า 150,000 ไร่ สำเร็จเป็นต้นแบบของการจัดการประมงโดยชุมชนแห่งแรกของไทย โดยคุณปรีดา  เจริญพักตร์ ได้มอบที่ดินเพื่อตั้งเป็นสำนักงานของโครงการและสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของชาวประมงชายฝั่งอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

ชาวเกาะทะลุ

พวกเราชาวเกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท เรียกตัวเองว่าเป็นชาวเกาะ เพราะเกาะทะลุคือบ้านที่เราผูกพัน และใช้เวลาแทบทุกวันอยู่ที่นี่

ในทุกๆ เช้า ชาวเกาะทะลุจะพากันเดินเก็บขยะที่คลื่นซัดขึ้นเกยหาดตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา คุณป้าแม่ครัวก็เริ่มคิดเมนูอาหารที่ได้มาจากวัตถุดิบสดๆ ในท้องถิ่น เพื่อเตรียมเสิร์ฟให้ผู้มาเยือนที่กำลังเพิ่งตื่นนอน  พี่บอย ครูสอนดำน้ำประจำเกาะ ก็ว่ายน้ำออกไปสำรวจความเรียบร้อยของแปลงปลูกปะการัง พี่บุญเลิศ เจ้าหน้าที่ศูนย์อนุบาลเต่าทะเล ก็ขะมักเขม้นกับการล้างบ่ออนุบาลเต่า และดูแลความสุขของบรรดาลูกเต่านับร้อยตัวให้สมบูรณ์พูนสุขอยู่เสมอ

พอสายๆ ก็ได้เวลาต้อนรับการมาถึงของนักท่องเที่ยวชุดใหม่ที่กำลังนั่งเรือมาถึง พอบ่ายๆ ชาวเกาะทั้งหลาย ก็ได้เวลาออกไปทำความรู้จักกับฝูงปลาและปะการังใต้ทะเล พอย่ำค่ำ ชาวเกาะทะลุ ทั้งเจ้าบ้านและผู้มาเยือนก็ได้เวลาสังสรรค์พูดคุยกันในค่ำคืนที่สวยงาม และช่วงเวลาของชาวเกาะก็หมุนเวียนไปเช่นนี้ทุกเมื่อเชื่อวัน

ชีวิตที่เกาะทะลุ

เพราะเราประทับใจธรรมชาติบนเกาะทะลุ จึงตั้งใจสร้างรีสอร์ทที่อยู่กับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จึงเป็นรีสอร์ทของคนรักธรรมชาติ ที่จัดการอย่างรักธรรมชาติ เราสร้างที่พักแบบง่ายๆ แต่ความสุขของผู้มาเยือนนั้นมีอยู่ทุกที่ ตั้งแต่บนเตียงนอน เปลญวนใต้ร่มไม้ หรือบนผืนทรายชายหาด 

เราเสิร์ฟอาหารด้วยเมนูที่คุ้นเคยๆ แต่ใช้วัตถุดิบดีที่สุดจากทะเล เรามีสารพัดกิจกรรมที่ทำให้ผู้มาเยือนทุกคนได้สนุก และสุขกับธรรมชาติ และทั้งหมดนี้ เป็นความสุขไม่รู้จบที่รวมครบเอาไว้ในการบริการแบบ All Inclusive Package ที่รวมทุกอย่างไว้ในราคาเดียว

รักษ์เกาะทะลุ

เราอยากให้ธรรมชาติบนเกาะทะลุสวยงามตลอดไป เราจึงพยายามให้กิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด 

อาคารที่กลมกลืนกับธรรมชาติ

เราสร้างบ้านพักที่เปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติดั้งเดิมน้อยที่สุด ใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้ บ้านบางหลังเป็นเรือนไทยแบบนอคดาวน์ซึ่งสามารถรื้อย้ายได้ง่าย

การจ้างงานในชุมชน

เราสนับสนุนการจ้างงานจากคนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาศักยภาพ และสร้างรายได้ให้คนในพื้นที่

บริหารจัดการน้ำจืด

น้ำที่ใช้คือน้ำที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติและการบริหารจัดการน้ำจืดอย่างมีประสิทธิภาพบนเกาะ จึงไม่ต้องใช้น้ำมันในการขนน้ำจืดจากบนฝั่งโดยไม่จำเป็น

อาหารจากท้องถิ่น

อาหารทุกมื้อบนเกาะ ก็มาจากวัตถุดิบที่พยายามคัดสรรมาจากแหล่งผลิตในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนรายได้ให้คนในชุมชนในอีกทางหนึ่ง

การประหยัดพลังงาน

ทุกคนคงรู้ดีกว่ามาเที่ยวทะเลนั้นคือโอกาสที่จะได้สูดอากาศดีๆ ในช่วงเวลาที่เราออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง จึงเป็นเวลางดใช้ไฟฟ้า เพื่อลดการใช้น้ำมัน ลดมลภาวะจากเครื่องยนต์ดีเซลในการปั่นไฟฟ้า

การจัดการขยะ

รวมไปถึงการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการลดขยะ แยกขยะ รีไซเคิล และนำขยะสดไปผ่านกระบวนการเป็นปุ๋ยชีวภาพในการปลูกผักสวนครัวกินกันเอง

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เกาะทะลุ

หัวใจของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ ลดผลกระทบที่เราจะสร้างขึ้นให้น้อยที่สุด และสร้างเสริมสิ่งที่มีให้ยั่งยืนตลอดไป

เกาะทะลุ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท จึงดำเนินกิจการควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ท้องทะเลในนาม มูลนิธิฟื้นฟูทรัพยากรทะเลสยาม ซึ่งดำเนินกิจกรรมมากมาย เช่น

โครงการจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนอ่าวบางสะพาน 

โครงการที่ทำมาตั้งแต่ยุคบุกเบิกรีสอร์ท เราสนับสนุนกรมประมงในการดำเนินโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เพื่อสร้างจิตสำนึกในการทำการประมงอย่างมีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบ  ให้กับชาวประมงในเขตพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง  มีการวางปะการังเทียมหลายพันก้อนลงสู่ก้นทะเล  เพื่อเป็นบ้านของพ่อแม่พันธุ์ปลาให้อาศัยวางไข่  เพิ่มผลผลิตทางประมงให้อ่าวไทย  และยังเป็นแนวเขื่อนใต้ทะเลกั้นอวนลากของเรือประมงใหญ่ที่เคยเข้ามาทำประมงในบริเวณน้ำตื้นนี้  ส่งผลให้ระบบนิเวศที่ใต้ท้องงทะเลสมดุล  รายได้และความเป็นอยู่ของชาวประมงที่ดีขึ้น  ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของชุมชน  ลดปัญหาความขัดแย้ง  นับเป็นแนวทางสำคัญในการฟื้นฟูทรัพยากรอย่างยั่งยืนทั้งสิ้น

You don't have permission to register